bada

 
ตามปกติแล้ว ฮาร์ดแวร์ จะต้องมีระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงาน การสั่งงานบนอินเทอร์เฟซ บนคอมพิวเตอร์เราก็ใช้ Windows, Mac OS, Linux, Ubuntu เพื่อควบคุมฮาร์ดแวร์ ในที่นี้คือ พีซี หากเป็น Mac ก็จะเป็น Mac OS ในการควบคุมฮาร์ดแวร์
แต่สำหรับมือถือก็จะมี Symbian, iPhone OS หรือ iOS, BlackBerry OS, Android OS จนมาถึง Bada ระบบปฏิบัติการใหม่ที่เรียกว่า ยังแทบไม่มีใครรู้จักในวงกว้าง
ที่ต้องเอามานำเสนอเพราะเป็นเรื่องที่คนไอทีน่าจะรู้จัก เพราะปกติแค่คำว่า Android ก็งงกันใหญ่ว่า มันคืออะไร แล้วยิ่งชื่อแปลกๆ ไม่คุ้นหูอย่าง Bada หลายๆคนคงอยากจะรู้จัก
แต่เดี๋ยวก่อน หากคุณอยากจะรู้จัก bada ไม่ต้องรีบเข้า google แล้วพิมพ์คำว่า “bada” นะครับ เพราะจะเจอนักร้องสาวน่ารักจากเกาหลี รูปภาพของเธอมากมาย จนแทบลืมหาข้อมูล Bada OS เชียวล่ะ
รู้จักกับ bada บาด้า

bada (ออกเสียงภาษาไทยเรียก บา-ด้า) เป็นแพล็ตฟอร์ม ไม่ใช่แค่ OS คือมีระบบปฏิบัติการของตนเอง มีแอพพลิเคชั่นของตัวเอง มีรูปแบบการสั่งงาน ควบคุมการทำงานของตนเอง โดยได้รับการพัฒนาโดย Samsung Electronics ได้รับการออกแบบเพื่อใช้งานบนสมาร์ทโฟนระดับไฮเอ็นต์และหลายๆรุ่น
ซึ่งทาง Samsung มั่นใจกับ bada ในการทำงานที่รวดเร็ว สามารถตอบสนองการสั่งงานที่หลายๆคนต้องชอบ เรียกได้ว่าทำให้ feature phone (โทรศัพท์มือถือระดับกลาง) ปกติ มีความสามารถที่ฉลาดขึ้น ติดตั้งแอพพลิเคชั่นได้มากขึ้น เรียกว่าได้แปลงโฉมเปลี่ยนฟีเจอร์โฟนธรรมดาเป็นสมาร์ทโฟนได้เลย
ด้วยการทำงานที่รันได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้มือถือจาก Samsung ทำงานเป็นมือถืออัจฉริยะได้เลย ดังนั้น bada ถือว่าเป็นมิติใหม่ที่น่าจับตามองบนสมาร์ทโฟนระดับไฮเอ็นต์และระดับกลาง เพราะน่าสนใจในการใช้งานบนทุกอุปกรณ์พกพา ที่ซัมซุงประกาศว่า ไม่ใช่แค่มือถือเท่านั้น ลองหันไปมองว่า อุปกรณ์พกพาต่างๆของซัมซุง ล้วนแต่สามารถใช้ bada ได้จะวิเศษขนาดไหน
ใจกว้างดั่งมหาสมุทร

ความหมายของ Bada ก็คือมหาสมุทรหรือทะเลนั่นเอง
การเขียนโปรแกรมบน Bada นั้นใช้ภาษา C++ ในการเขียนและพัฒนา รองรับในตระกูลแพล็ตฟอร์มบน Linux บนมือถือสมาร์ทโฟนที่ใช้ CPU ARM
ใครใช้คอมก็คงเทียบกันได้ว่า PC ใช้ Intel AMD ส่วน Mac เป็น Intel เฉพาะที่ติดตั้งได้เฉพาะบาง OS เท่านั้น ดังนั้น bada ที่เป็นแกน linux นั้นก็ติดตั้งลงบนมือถือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ CPU ARM ได้นั่งเอง
เรื่องอนาคต Samsung มองความสดใสโดยจับมือกับ Twitter, EA, Capcom, Gameloft และ Blockbuster แค่เห็นชื่อบริษัทระดับโลกก็น่าสนใจแล้ว เพราะ Samsung มุ่งมั่นในการทำ SDK สำหรับนักพัฒนาบน bada โดยในเดือนพฤษภาคม 2010 เปิดตัว bada SDK 1.0.0b2 ตามมาด้วย 1.0.0b3 ในปลายเดือนเดียวกัน (เร็วมากๆ)
นอกจากนี้ Samsung ยังเริ่มเปิดตัวการแข่งขันพัฒนาแอพพิลเคชั่นจากนักพัฒนา Developer Challenge ด้วยเงินรางวัลที่สูงถึง $2,700,000 (USD)
โดยมือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ bada รุ่นแรกคือ Samsung Wave S8500

ใครที่ห่วงเรื่องแอพพิลเคชั่น กลัวโดนทิ้ง หมดห่วงได้เพราะมี Samsung Apps สำหรับแพล็ตฟอร์ม bada รองรับ 80 ประเทศและ 100 ผู้ให้บริการทั่วโลก
ดังนั้นจากที่บอกมาทั้งหมด แพล็ตฟอร์ม bada จาก Samsung ไม่ใช่แค่ระบบปฏิบัติการ (OS) แต่จะเป็นแกนบน Linux kernel หรือระบบปฏิบัติการ (RTOS) kernel
อาจจะเป็นศัพท์เทคนิคนิดหน่อยเพราะคนที่ใช้ Linux เองจะทราบดีว่ามันจะเป็น kernel โดย bada จะเป็นทางเลือกสำหรับมือถือระดับไฮเอ็นต์ ในขณะที่ RTOS นั้นใช้บนสมาร์ทโฟนทั่วไป เนื่องจากใช้หน่วยความจำน้อยกว่า
สิ่งที่น่าสนใจของแพล็ตฟอร์มนี้คือ กราฟิก โปรโตคอล ความปลอดภัยต่างๆ คุณสมบัติก็จะรองรับ SNS แผนที่ แอพพลิเคชั่นต่างๆ การซื้อแอพต่างๆ
สำหรับการควบคุมสั่งงานบน bada นั้นสนับสนุนหลากหลาย UI จากนักพัฒนา UI
นอกจากนี้ สามารถใช้การควบคุมบนการสั่งงาน การใช้งานบราวเซอร์ รองรับ Adobe Flash โดยเฉพาะ Flash 9 โดยรองรับทั้ง WebKit และ Flash ที่แทรกลงไปในแอพบน bada เลย
จุดเด่นที่สำคัญคือการเชื่อมโยงแผนที่กับ Point of interest (POI) เพื่อใช้งานร่วมกับฟังก์ชั่นบนแอพพลิเคชั่น
การจับเซ็นเซอร์ก็สำคัญ จับความเคลื่อนไหว การสั่น การจับใบหน้า การรองรับ accelerometer, magnetometer และ GPS รวมไปถึง multipoint-touch ซึ่งจะมีประโยชน์ในการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ
ดังนั้นสรุปสั้นๆคือ bada จะช่วยให้มือถือแบบฟีเจอร์โฟน ที่มีความสามารถเหนือกว่ามือถือโทรเข้า รับสาย ส่งข้อความทั่วไป กลายเป็นสมาร์ทโฟนอัจฉริยะได้ด้วยแอพพลิเคชั่นนี่แหละ ต่อไปก็คือส่วนของ User Experience ของผู้ใช้แล้วล่ะ
สำหรับการใช้งานบน Samsung touch UI ทางซัมซุงนั้นเข้าใจดี เพราะการที่ OS ชื่อแปลกๆ ไม่คุ้นหูอย่าง bada ทำให้คนทั่วไปคิดว่า ใช้ยากไหม มันคืออะไรเหรอ จะงงไหม พอมาเจอ TouchWiz ก็ใช้งานง่ายเพราะหลายๆคนคุ้นเคยอยู่แล้ว แม้ว่าจะมี UI ก็ไม่ได้บั่นทอนประสิทธิภาพของการทำงานลง แต่กลับทำให้ touch UI ช่วยในเรื่องการใช้งานให้ง่ายขึ้นไปอีก ยิ่งรองรับและผสานการทำงานกับ Adobe® Flash® Player และ WebKit Internet browser ยิ่งใช้งานสะดวกและตื่นตาตื่นใจกับแอพพลิเคชั่นบน bada ได้มากยิ่งขึ้นไปอีก
รวมไปถึงการใช้งานแผนที่ การผสานกับแอพพลิเคชั่นด้วย bada map control ที่ช่วยปักหมุดตำแหน่งของ POI ได้แม่นยำ
แอพทั้งหมดพัฒนาบน C++ จาก bada SDK และ Eclipse based IDE และ GNU based tool กับการทำงานบนแอพพลิเคชั่น รวมไปถึงการสร้าง UI ที่นักพัฒนาสามารถสร้าง UI บนแอพพลิเคชั่นและการลากแล้ววางบน UI ทุกอย่างจะได้รับการตรวจสอบและพัฒนาไปพร้อมๆกัน
เมื่อรู้จัก bada แล้ว ก็คอยติดตามว่า เราจะล่องไปในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่นี้พร้อมๆกับนักพัฒนาได้อย่างไร

ข้อมูลจาก http://www.bada.com